ท่านกำลังอยู่ที่ หน้าที่ 7 ของบทความทางเทคนิค

ข้าพเจ้าขอมอบ ความรู้อันน้อยนิด แก่ สาธารณชน หากจะเกิดประโยชน์แก่ ผู้ใด ขอให้บุญกุศล ทางวิทยาทานทั้งหลาย ซึ่งเป็นถาวรทาน

ตกแก่  ครอบครัว บิดา  มารดา  บรรพบุรุษ ผู้ล่วงลับ ตลอดจน เจ้ากรรม นายเวร ของข้าพเจ้า หากผิดพลาด ณ.ที่ใด

ข้าพเจ้าขอรับผิดแต่ผู้เดียว

บทความทางเทคนิค ทางด้านการซ่อมเครื่องมือไฟฟ้า

 

บทความทางเทคนิค ตอน ใบเลื่อยหมุนฟรี ประกับ จับใบไม่แน่น ครับช่าง

ท่านผู้อ่าน วันนี้ผมมีเครื่องเลื่อยวงเดือน maktec มาหนึ่งเครื่องครับเจ้าของแจ้งให้ทราบว่า ใบเลื่อยนั้น เวลาทำงาน ในการตัดไม้

ใบเลื่อยมันไม่ยอมหมุน แต่ตัวเครื่องหมุนปรกติ แกนจับใบเลื่อยก็หมุนแต่ว่า ใบเลื่อยวงเดือน จึงไม่ตัดไม้ ครับ เจ้าของบอกว่า

ช่วงนี้ การเงินไม่ค่อยดี ขอให้ช่างซ่อม อย่างประหยัด หน่อยครับ พยายามช่วยเซฟค่าใช้จ่าย ข้าพเจ้าจึงตอบเขาไปว่า จะลองดูให้

หากประหยัดได้ก็จะประหยัดเงินให้ แต่ การที่เราจะประหยัดเงินค่าซ่อมนั้น เราต้อง คิดว่า ดัดแปลงอย่างไร ให้มันสามารถใช้งานได้ดีดังเดิม

และไม่เ้ป็นอันตรายกับตัวเครื่อง หรือ หากจะดัดแปลง ชิ้นส่วนชิ้นนั้น มันจะต้องใช้งานไม่ได้อยู่แล้ว และ หากเราจะดัดแปลง

เราต้องให้กระทบกระเทือน ถึงชิ้นส่วนอื่น ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ตัวอย่างในการซ่อมเครื่องนี้ ข้าพเจ้าเห็นว่า ดีทีเดียวครับ

เพราะข้าพเจ้าติดตามการซ่อมนี้ มาเป็นเวลาประมาณ หนึ่งปี ปรากฏว่ายังสามารถใช้งานได้ดีทีเดียวครับ

เราไปดูชิ้นส่วนตามสแปร์พาร์ทกันนะครับ ภาพสแปร์พาร์ทนี้ เป็นของผู้ผลิตสินค้า maktec ซึ่งเป็นของ ผู้ผลิต สินค้า MAKITA

ขอให้ท่านผู้อ่านสังเกต ชิ้นส่วน หมายเลข 3 กับ หมายเลข 9 ชิ้นส่วนอะไหล่ สองชิ้นนี้ ในทางปฏิบัติเราพบได้ว่า

หาก เราไม่ขันนอตฝาประกับให้แน่น และ ปล่อยให้ ใบเลื่อยวงเดือน หมุนฟรีได้ จะทำให้ แกน เฟือง หมายเลข 9

และ ตัวประกับใบ ตัวล่าง ( อะไหล่หมายเลข 3 ) สึกหรอ

ใน ทางปฏิบัติแล้ว เราต้องเสียเงินในการซ่อม ไม่ตํ่ากว่า 300-400 บาท

แต่หากเรารู้วิธีดัดแปลง เราจะสามารถประหยัดเงินได้ ครับ ข้าพเจ้าติดตามการซ่อมนี้ มาเป็นเวลาประมาณ หนึ่งปี

ปรากฏว่ายังสามารถใช้งานได้ดีทีเดียวครับ จึงไม่ต้องการ ให้การดัดแปลงนี้ สูญหายและ ตายไปกับตัวของผมเอง

บทความทางเทคนิคนี้ ที่นำมาลงในเว๊ปไซด์ ผู้เขียนมีความมุ่งหมาย ให้เป็นถาวรทาน หากมีผู้หนึ่งผู้ใดได้ประโยชน์

ในบทความที่ข้าพเจ้าเขียนขึ้น ขอให้ผลบุญ นั้น ส่งไปถึงแก่บิดา มารดา ตลอดจน เจ้ากรรมนายเวร ของข้าพเจ้า

เราไำปดูวิธีดัดแปลงกันครับ


เราถอดตัวประกบใบเลื่อยออกมาแล้วนะครับ

ตัวประกบใบเลื่อยวงเดือน ( อะไหล่หมายเลข 3 ) ทางด้านซ้ายมือ จะสังเกตได้ว่า มีรอยเสียดสี

รอยเสียดสีเกิดจาก การไม่ขันนอตประกับใบเลื่อยวงเดือนให้แน่น ทำให้ใบเลื่อยวงเดือนหมุนฟรี

ตรงศรชี้สีแดง มีรอยสึกหรอ เป็นร่องวงกลมโดยรอบ ทำให้ ไม่สามารถขันนอตประกบใบเลื่อยให้แน่นได้เพราะว่า

เนื้อโลหะส่วนนี้ สึกหรอ ถึงเราจะขันน๊อตให้แน่นเพียงใด ประกับก็ไม่สามารถ จับใบเลื่อยให้แน่นได้ ทางแก้คือ

แกนเฟืองตัวนี้ ( อะไหล่หมายเลข 9 ) ต้องเปลี่ยนใหม่ หากเราดูในภาพเขียนสแปร์พาร์ท ของบริษัท เราจะเห็นว่า

อะไหล่หมายเลข 9 ต้องไม่มีเนื้อโลหะต่างระดับ ตรงศรชี้สีแดง

เราไปแก้ปัญหากันครับ แก้แบบประหยัด นะครับ

ผมไปเจอลวดสปริง วงหนึ่งครับ แต่ก็ไม่รู้จริงๆว่า มันเป็น ลวดสปริงของอะไร แต่รู้ ว่า ขนาดของมัน คือ ประมาณ

1 มิลลิเมตร มันอยู่ในลังเครื่องมือของผมครับ   ผมเอาสวมลงไป ที่แกนเฟือง อะไหล่หมายเลข 9 ดังรูป

สปริงวงนี้สวมลงไปพอดีเลยครับ ไม่แน่น และ ไม่หลวมเกินไป เรามาคิดกันดูนะครับ เมื่อเรารองไปแล้ว ความสูงของเนื้อโลหะที่หายไป

ถูุูกแทนที่ด้วย เส้นลวดสปริงวงนี้ ย่อมทำให้ แกนเฟืองอะไหล่หมายเลข 9 สามารถกลับมาใช้งานได้ดีดังเดิม โดยไม่เป็นอะไรกับชุดมอเตอร์

สนนราคา แล้ว คงไม่เกิน 5 บาท ต่อไปเราเริ่มประกอบ ใบเลื่อยกันต่อเลยนะครับ

อะไหล่หมายเลข 3 นี้ มีร่องรอยการเสียดสี ของใบเลื่อยวงเดือนหมุนฟรี ทำให้ สึกหรอลงไป น่าจะหายไป ประมาณ 0.20 มิล

ไม่เยอะครับ เราต้องอย่าื์ ลืมว่า เราได้เสริมเส้นลวดปริงไปแล้ว และ มีขนาดความสูง กว่ารอยสึกหรอ เดิม

ฉะนั้น ตัวประกบใบอะไหล่หมายเลข 3 นี้ถึงแม้จะมีร่องรอยการเสียดสี ของใบเลื่อยวงเดือนหมุนฟรี ก็ตาม เราไม่ต้องไปสนใจ

เพราะว่า เรา รองเส้นสปริง เส้นเดียว แก้ปัญหาได้ทีเดียว สองปัญหา เปรียบได้กับ ยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว


ใส่แหวนรองใบเลื่อยวงเดือน

เอาฝาประกบตัวนอกสวมลงไปที่แกนจับใบเลื่อย

ขันนอตให้แน่น ใช้ได้แล้วครับ แน่นตึ๊บ ประหยัดเงินไป 300-400 บาทครับ

ข้าพเจ้าติดตามการซ่อมนี้ มาเป็นเวลาประมาณ หนึ่งปี ปรากฏว่ายังสามารถใช้งานได้ดีทีเดียวครับ


ข้อความที่ท่านอ่านนี้เป็นส่วนหนึ่งของ หนังสือเทคนิคการซ่อมเครื่องมือไฟฟ้า ตอน ประสบการณ์ทางวิชาชีพ

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537

   เป็นและเก่ง ได้ อย่างง่ายๆ ด้วยหนังสือของเราไม่ต้องปวดหัวกับภาคทฤษฎี       

เราสอนท่านด้วยลำดับภาพประกอบคำบรรยาย

          ง่ายกว่าที่คิด อย่าคิดว่ามันยาก เรากล้ารับประกันหากท่านอ่านแล้ว ปฏิบัติงานซ่อมไม่ได้

 เรายินดีคืนเงินทุกบาททุกสตางค์   

www.phantippowertools.com   ศูนย์ซ่อมและจำหน่าย เครื่องมือไฟฟ้า ทุกชนิดทุกรุ่น  

 1262/7 หมู่ที่ 10 ต. นครสวรรค์ตก อ. เมือง จ.นครสวรรค์   รหัสไปรษณีย์ 60000 

  โทรศัพท์ 056 - 310760    มือถือ   081 - 7075038    

ผู้สนับสนุนหลัก ยานวด ยอดธงไทย

 หายเมื่อยหายปวด ขวดเดียวเอาอยู่